How to ออกกำลัง ให้ได้ผลดีกับสุขภาพ

How to ออกกำลัง ให้ได้ผลดีกับสุขภาพ

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

How to ออกกำลัง ให้ได้ผลดีกับสุขภาพ



เชื่อว่าหลายๆคนคงรู้วิธีการออกกำลังกายดีอยู่แล้ว แต่วิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องไม่ใช่การออกกำลังให้หนักและอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง หรือแม้แต่การใช้ยาลดน้ำหนักที่เห็นในโฆษณาทั่วๆไปในโลกออกไลน์ วันนี้เราจะมาอธิบายวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องและหลากหลายรูปแบบ และ สืบสานเอกลักษณ์ ความเป็นไทยอย่าง มวยไทย อีกด้วย

     สิ่งแรกเลยคือ ต้องทำความเข้าใจกับร่างกายของเราว่าไหวเท่าไหน เป้าหมายในการออกกำลังกาย การออกกำลังกายจำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดผลดีกับสุขภาพ จะช่วยจะระเบียบร่างกายและการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายด้านต่างๆ ได้แก่ ความทนทาน ความแข็งแรง การทรงตัว และความยืดหยุ่น ดังนี้

 

1ความทนทาน (Endurance) ช่วยให้หัวใจแข็งแรง เพื่อร่างกายจะได้ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ดีขึ้น และไม่เหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมหนัก ๆ เช่น เล่นมวยไทย, ศิลปป้องกันตัว

2ความแข็งแรง (Strenght) ช่วยให้แบกของหนัก ออกแรง รวมทั้งทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น

3การทรงตัว (Balance) ช่วยให้ทรงตัว รวมทั้งเคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่หกล้มได้ง่าย

4ความยืดหยุ่น (Flexibility) ช่วยให้ยืดตัว เอี้ยวตัว หรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ง่ายขึ้น

 

เริ่มต้นออกกำลังกายอย่างถูกต้อง

     ในการเตรียมตัวสำหรับก่อนที่จะมีการเริ่มออกกำลังกายนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก จะช่วยให้เราได้มีการกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดและการกระตุ้นให้ตัวเองให้ออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวัน อีกทั้งยังออกกำลังกายได้อย่างถูกต้องและส่งผลดีต่อสุขภาพ ผู้ออกกำลังกายลองเริ่มต้นออกกำลังกาย ดังนี้

กำหนดกิจวัตรประจำวัน ที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ควรที่จะเริ่มสำรวจตัวเองว่า ออกกำลังกายล่าสุดเมื่อไหร่ ครั้งละกี่นาที อีกทั้งยังเป็นข้อมูลในการวางแผนสำหรับออกกำลังกายต่อไปด้วย

 

หาเป้าหมายในการออกกำลังกาย จะเป็นการช่วยฝึกให้เรามีแผนในการออกกำลังกาย และมุ่งไปสู่ความต้องการให้ได้ชัดเจนและทำให้ไปถึงเป้าหมายได้ง่ายกว่าเดิม และก็ต้องสำรวจตัวเองอยู่สม่ำเสมอ

 

เขียนแผนการออกกำลังกาย แผนการออกกำลังกายควรมีพื้นฐานมาจากเป้าหมายที่ชัดเจน โดยเลือกประเภทกิจกรรมและระบุเหตุผล ช่วงเวลา รวมทั้งสถานที่ที่ต้องทำกิจกรรมดังกล่าว ทั้งนี้ ควรเลือกกิจกรรมที่ผู้ฝึกจะทำได้จริง รวมทั้งหมั่นสำรวจว่าบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่ รู้สึกสนุกในขณะที่ออกกำลังกายเพื่อฝึกตัวเองให้ออกกำลังหรือเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน

 

ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การปรับระดับความหนักของกิจกรรมหรือการออกกำลังกายถือเป็นเรื่องที่เราควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งในผู้ออกกำลังกายบางราย มีปัญหาในการออกกกำลังกายรวมไปถึงสุขภาพ หรือไม่สามารถเริ่มออกกำลังกายระดับที่หนักได้ โดยควรทีจะรีบพบแพทย์เพื่อปรึกษาเพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงต่างๆ ดังนี้

 

กิจกรรมที่ควรเลี่ยงและผลกระทบของอาการป่วยหรือการผ่าตัดที่ส่งผลต่อการออกกำลังกาย

อาการป่วยที่ยังหาไท่ทราบถึงสาเหตุ เช่น เจ็บหรือแน่นหน้าอก ปวดข้อต่อ เวียนศีรษะ หรือหายใจไม่สุด ผู้ฝึกควรพักร่างกายจนกว่าจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาอาการดังกล่าว

 

ปัญหาด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อการออกกำลังกาย เช่น ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบอาจต้องเลี่ยงออกกำลังกายบางประเภท

 

ปัญหาด้านสุขภาพที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ และอาจส่งผลต่อกิจกรรมที่ทำอยู่ เช่น ผู้ป่วยความดันโลหิตหรือเบาหวานจำเป็นต้องรู้วิธีออกกำลังกายที่ปลอดภัยกับตัวเอง

 

การเลือกใส่รองเท้าสำหรับออกกำลังกายที่เหมาะสม รองเท้าออกกำลังกายนับเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย ควรเลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับกิจกรรมแต่ละอย่าง เช่น เดิน วิ่ง เต้น โบว์ลิ่ง หรือเทนนิส โดยเลือกรองเท้าพื้นเรียบ ไม่ทำให้ลื่น รองรับและพอดีกับเท้าของตนเอง รวมทั้งหมั่นตรวจสภาพรองเท้าเป็นประจำ หากรองเท้าสึกหรือรู้สึกปวดเท้า  หน้าแข้ง เข่า หรือสะโพก หลังทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรเปลี่ยนรองเท้าคู่ใหม่



บทความที่น่าสนใจ

ข้อดีของมวยไทย สำหรับผู้สูงวัย
กลวิธีการใช้ ศอก ในกีฬา มวยไทย ( Muay Thai )