สังเวียนมวยไทย

สังเวียนมวยไทย

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

สังเวียนมวยไทย



ยิมมวยในยุคนี้ได้รับความสนใจทั้งจากเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงชาวต่างชาติ โดยนิยมเรียนมวย ฝึกมวยไทยเพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง ไม่ใช่เพื่อการต่อสู้ ซึ่งศิลปะมวยไทยได้มีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยตลอดเวลา

 

     ในสมัยก่อนนั้นผู้คนจะฝึกมวยไทยเพื่อใช้ป้องกันตัวและนำไปใช้ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เช่น การเข้าสู่ศึกสงคราม แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนบ้านเมืองมีความสงบขึ้น มวยไทยได้กลายมาเป็นกีฬาการต่อสู้ที่ใช้อวัยวะแทบจะทุกส่วนของร่างกายให้เป็นประโยชน์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ มวยไทย ได้กลายเป็นการฝึกเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ เพื่อออกกำลังกาย ใช้ลดน้ำหนัก

 

     หากกล่าวถึงรูปแบบการจัดชกมวยไทย ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นเดียวกัน ในสมัยก่อน สนามมวย นั้นเป็นสนามจริง ๆ โดยเอาเชือกมากั้นพอเป็นบริเวณ แล้วชกกันบนพื้นดิน ใช้จอกหรือกะลาเจาะรูลอยน้ำเป็นมาตรากำหนดเวลา จมครั้งหนึ่งเรียกว่ายกหนึ่ง จนต่อมาเริ่มสร้างเวทีขึ้น โดยพื้นใช้ไม้กระดาน เสื่อเป็นแบบเสื่อกระจูดทับข้างบน มีการนับโดยจับเวลาเป็นนาที จนพัฒนามาเรื่อย ๆ กลายเป็นสังเวียนมวย หรือ เวทีมวย หรือ สนามมวย (Boxing ring) ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสนามกีฬาสำหรับใช้การแข่งขันกีฬามวย ไม่ว่าจะเป็นมวยไทยหรือมวยสากล โดยส่วนมากแล้วสังเวียนมวยมักจะเป็นสนามกีฬาในร่ม เว้นแต่สังเวียนมวยชั่วคราวที่จะตั้งอยู่ข้างนอก ซึ่งสังเวียนที่จะใช้ทำการแข่งขันจะมีมาตรฐานตามที่ AIBA (สหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นนานาชาติ) กำหนดไว้

 

ตามหลักกติกาสากลแล้ว สังเวียนมวยที่ได้มาตรฐานจะต้องมีลักษณะดังนี้

  1. สังเวียนต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดเล็กด้านละ 20 ฟุต (6.10 เมตร) ขนาดใหญ่ด้านละ 24 ฟุต (7.30 เมตร) วัดจากข้างในเส้นเชือก และพื้นเวทีสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 3 ฟุต แต่ห้ามเกิน 4 ฟุต
  2. เชือกกั้น ต้องมีเชือก 4 เส้น และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเชือกไม่ต่ำกว่า 1½ นิ้ว โดยจะขึงติดกับเสาที่มุม สูงจากพื้นเวทีขึ้นไป 16, 32, 48 และ 60 นิ้ว ตามลำดับ ทั้งนี้ให้หุ้มเชือกด้วยวัสดุที่มีความอ่อนนุ่มและเรียบ ส่วนที่มุมเชือกด้านในต้องหุ้มด้วยวัสดุอย่างอ่อน และเชือกในแต่ละด้านของสังเวียนจะต้องผูกยึดกันด้วยผ้าเหนียวสองชิ้น โดยมีขนาดกว้าง 1 – 1½ นิ้ว และมีระยะห่างที่เท่ากัน ซึ่งผ้าที่ผูกนั้นต้องไม่ลื่นไปตามเชือก
  3. พื้นเวที หรือ พื้นสนาม ต้องมีความปลอดภัย ได้ระดับ ไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ และต้องยื่นออกไปนอกเชือกอย่างน้อย 20 นิ้ว และต้องปูด้วยผ้าสักหลาด ยาง หรือวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสม โดยจะต้องมีลักษณะยืดหยุ่นได้ และมีความหนาไม่น้อยกว่า 1 ½ นิ้ว พร้อมปูทับด้วยผ้าตึงคลุมพื้นเวทีทั้งหมด
  4. มุมสังเวียน ต้องตั้งเสาที่มุมทั้งสี่มุม โดยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว และสูงขึ้นไปจากเวที 60 นิ้ว พร้อมทั้งหุ้มนวมที่มุมภายในเชือกให้เรียบร้อยเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับนักมวย และ มุมแดง จะอยู่ใกล้กับประธานกรรมการควบคุมการแข่งขัน หรือ ประธานคณะลูกขุน
  5. บันได จะมี 3 บันได และต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3 ฟุต ไว้ที่มุมต้องข้ามของเวทีสองบันไดเพื่อให้นักมวยและพี่เลี้ยงขึ้นลง ส่วนอีกบันไดหนึ่งนั้นให้อยู่ที่มุมตรงกลางสำหรับผู้ชี้ขาดและแพทย์
  6. ต้องมีกล่องพลาสติกที่มุมกลางทั้งสองมุมนอกสังเวียนให้ติดล่องพลาสติกมุมละกล่อง เพื่อให้ผู้ชี้ขาดทิ้งสำลีหรือกระดาษบาง ๆ ที่ซับเลือดแล้ว
  7. สังเวียนเพิ่มเติม อาจใช้สังเวียน 2 สังเวียน ในการแข่งขันที่มีนักกีฬามาก หรือชิงชนะนัดสำคัญ ๆ ได้

 

     สำหรับสนามมวยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ในประเทศไทย ได้แก่ สนามมวยราชดำเนิน, สนามมวยเวทีลุมพินี ในต่างประเทศ อาทิ นิปปงบุโดกัง, โคระกุเอ็งฮอล ในประเทศญี่ปุ่น และเมดิสันสแควร์การ์เดน ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นเวทีมวยที่ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานและสามารถใช้สำหรับจัดการแข่งขันได้อย่างไม่มีปัญหา

 

     ใครที่อยากฝึก อยากเรียนมวยไทย สามารถมาได้ที่ เจริญทอง มวยไทย ยิม (Jaroenthong Muay Thai) ทั้ง 3 สาขา (ข้าวสาร, รัชดา และศรีนครินทร์) พวกเรายินดีต้อนรับ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก oleptra



บทความที่น่าสนใจ

มวยไทย 5 สาย มีอะไรกันบ้าง ?
ออกกำลังกาย ด้วย มวยไทย ( Muay Thai ) เพื่อสุขภาพ