วิวัฒนาการของมวยไทย ในแต่ละสมัย

วิวัฒนาการของมวยไทย ในแต่ละสมัย

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

วิวัฒนาการของมวยไทย ในแต่ละสมัย



วิวัฒนาการของมวยไทย ในแต่ละสมัย

 

มวยไทย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมาก มวยไทยนั้นมีความสำคัญต่อประเทศไทยเราเป็นอย่างมาก ในสมัยก่อน ผู้ชายทุกคน ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ทหาร หรือสามัญชน จะได้รับการฝึกมวยไว้เพื่อป้องกันตัวและปกป้องประเทศชาติ การนำท่ามวยมาประกอบกับการใช้อาวุธ จะทำให้การใช้อาวุธนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

วิวัฒนาการของมวยไทย

สมัยอาณาจักรน่านเจ้า

พ.ศ. 1219  พระเจ้าพีล่อโก๊ะ  ได้รวบรวมอาณาจักรไทยขึ้น  เรียกว่า  อาณาจักรน่านเจ้า  และมีกษัตริย์ที่แข็มแข็งปกครองอยู่  ไทยนั้นต้องทำสงครามกับจีนอยู่ตลอดเวลา  บางครั้งเกิดมิตร  บางครั้งเกิดศัตรู  ในสมัยนั้นได้มีการฝึกซ้อมใช้อาวุธบนหลังม้า  รู้จักใช้หอก  ใช้ง้าว  ในสมัยล้านนา  ไทยได้มีวิชาการต่อสู้ป้องกันตัว  และวิชาเจิ้ง  การรบเพลงอาวุธ  และตำราพืชัยสงคราม  จัสังเกตุได้ว่า  การต่อสู้ในสมัยนี้  ส่วนมากจะใช้อาวุธ  เพราะเป็นการต่อสู้เพื่อเอกราช  การต่อสู้ด้วยมือเปล่าก็มีอยู่บ้าง  แต่ส่วนมากจะใช้ในระยะประชิดตัว  และนิยมการเลียนแบบจากจีน

 

สมัยกรุงสุโขทัย

พ.ศ. 1781 – 1921  ในสมัยสุโขทัยนี้  การต่อสู้มือเปล่าด้วยวิชามวย  ใช้ในการต่อสู้กับข้าศึก  และใช้ร่วมกับอาวุธมือถือชนิดต่าง ๆ เพื่อการกอบกู้ประเทศชาติ  สถานที่ ที่เป็นสำนักสอนวิชามวยไทย  แบ่งออกเป็น

  • วัด  จากครูบาอาจารย์ที่บวชเป็นพระภิกษุ  และมีฝีมือในการต่อสู้
  • บ้าน จากผู้ที่มีความรู้  เป็นคนถ่ายทอดวิชามวยไทยให้ลูกหลานที่สนใจ
  • สำนักราชบัณฑิตให้เรียนวิชาการต่อสู้  การใช้อาวุธบนหลังม้า  วัว  ควาย

 

สมัยกรุงศรีอยุธยา

พ.ศ. 1893 – 2310  สมัยนี้มีการถ่ายทอดวิชาการต่าง ๆ มาจากสมัยสุโขทัยอย่างต่อเนื่อง  เช่น  การล่าสัตว์  การคล้องช้าง  การฟ้อนรำ  และการละเล่นต่าง ๆ และวัด  ก็ยังคงเป็นสถานที่ให้ความรู้  ทั้งวิชาสามัญ  และฝึกความชำนาญในเชิงดาบ  กระบี่กระบอง  กริช  มวยไทย  และยิงธนู  เป็นต้น

พ.ศ. 2174 – 2233  สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  นับว่าเจริญที่สุด  มีกีฬาหลายอย่างในสมัยนี้  เช่น  การแข่งเรือ  การชกมวย

 

สมัยพระเจ้าเสือ  หรือขุนหลวงสรศักดิ์

พระองค์ทรงโปรดกีฬาชกมวยมาก  มีครั้งหนึ่ง  พระองค์พร้อมด้วยมหาดเล็กอีก 4 คน  แต่งกายแบบชาวบ้าน  ออกไปเที่ยวงานมหรศพที่ตำบลราดรวด  แล้วพระองค์ก็สมัครชกมวยในงานนั้น  ในนามว่า  นายเดื่อ  โดยไม่เกี่ยงว่าคู่ชกจะเป็นใคร  พอทางสนามรู้ว่าพระองค์เป็นนักมวยมาจากอยุธยา  จึงได้จัดนักมวยฝีมือดีจากเมืองวิเศษไชยชาญที่มีอยู่  ได้แก่  นายกลางหมัดมวย  นายใหญ่หมัดเล็ก  นายเล็กหมัดหนัง  มาชกกับพระเจ้าเสือ  แล้วพระองค์ก็ชนะทั้งสามคน

พ.ศ. 2310 หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก  คนไทยจำนวนมากถูกจับไปเป็นเชลย  และเมื่อไปถึงพม่าก็จัดมหาเจดีย์ใหญ่เพื่อฉลองชัยชนะ  สุกี้พระนายกองก็ได้คัดเลือกนายขนมต้มไปชกมวยที่พม่าด้วย  นายขนมต้มได้ใช่วิชามวยไทยต่อสู้กับพม่าถึง 10 คน  และพม่าได้แพ้นายขนมต้มหมดทุกคน  จนพระเจ้ากรุงอังวะตรัดชมเชยว่า  คนไทยแม้ไม่มีอาวุธในมือ  มีเพียงมือเปล่า  ก็ยังมีพิษสงรอบตัว  เสร็จแล้วพระเจ้ากรุงอังวะก็ได้มอบเงินและภรรยาให้สองคน  เป็นรางวัลแก่นายขนมต้ม  นายขนมต้มได้เปรียบเสมือนบิดาผู้สอนมวยไทย  ชื่อเสียงได้เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน 

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  มวยไทยชกกันด้วยการคาดเชือก  เรียกว่า  มวยคาดเชือก  ซึ่งใช้เชือกหรือผ้ามาพันมือเอาไว้  บางครั้งที่ชกก็อาจทำให้ถึงตายได้  เพราะเชือกที่คาดมือนั้น  บางครั้งก็ใช้นำมันชุดเศษแก้วละเอียด  ไม่ว่าจะชกไปตรงไหนก็ได้เลือดทั้งนั้น  จะเห็นได้ว่าการชกมวยสมัยนี้อันตรายมาก ๆ

 

สมัยกรุงธนบุรี

พ.ศ. 2314 พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่  และตีเมืองพิชัย  พระยาพิชัย (นายทองดี ฟันขาว) บุคคลที่พระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตาก) ได้โปรดให้ครองเมืองพิชัยอยู่นั้น  ได้นำทัพออกไปต่อสู้กับพวกพม่าจนดาบหัก  แต่ก็สามารถปกป้องเมืองพิชัยเอาไว้ได้  ประชาชนจึงเรียกเขาว่า  พระยาพิชัยดาบหัก  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เรื่องราวของพระยาพิชัยดาบหัก  ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์  ก่อนกรุงแตกเป็นยุคสงครามกับพม่า  มีหนุ่มชาวบ้านหัวยคาเมืองพิชัย  หรืออุตรดิตถ์  ชื่อนายจ้อย  หรือนายทองดี ฟันขาว  เป็นคนที่สนใจในวิชาเพลงมวย  เที่ยวเสาะแสวงหาวิชาไปตามสำนักต่าง ๆ จนมีฝีมือพอตัว  จึงเที่ยวเปรียบหาคู่ชกจนมีชื่อเสียงโด่งดัง  และได้ฝากตัวอยู่กับพระยาตาก  ซึ่งต่อมาก็คือพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือพระเจ้าตากสินมหาราช  ที่ได้ทรงแต่งตั้งนายทองดี  ให้ไปครองเมืองพิชัย  และมีความชอบได้เป็นถึงพระยาพิชัย  ในเวลาแม้กระทั่งในตระกูลของพระยาพิชัยดาบหัก  เมื่อรับราชการมาจนถึงรัชการที่ 6 ก็ได้พระราชทานนามสกุลว่า วิชัยขัทคะ  แปลว่า  ดาบวิเศษของพระยาพิชัย  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  มีการเล่นกีฬามวยไทย  กระบี่กระบอง  แข่งเรือ  ว่าว  ตะกร้อ  หมากรุก  ชักคะเย่อ

 

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. 2325 ในระยะต้น  รัชการที่ 1 – 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  กษัตริย์ไทยที่ทรงโปรดปรานกีฬามาก ๆ คือ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ทรงโปรดกีฬามวยไทยอย่างต่อเนื่อง  ในสมัยนี้  ได้มีฝรั่งสองพี่น้องเข้ามาหาคู่ชกมวยแบบมีเดิมพัน  พระองค์ได้จัดส่งหมื่นผลาญ  นักมวยผู้เก่งกาจขึ้นชกกับฝรั่งสองพี่น้อง  แม้หมื่นผลาญจะมีร่างเล็กเสียเปรียบพวกฝรั่งอยู่มาก  แต่ด้วยศิลปะมวยไทย  อาวุธหมัด  เท้า  เข่า  ศอก  ฝรั่งสองพี่น้องก็พ่ายแพ้ยับเยินกลับไป  สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์หัดเล่นกระบี่กระบอง  พระบาดสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์มีความชำนาญในกีฬามวยไทย  จึงจัดให้มีการแข่งขันชกมวยขึ้นในชนบทและในกรุง  นอกจากนี้ยังได้ทรงแต่งตั้งผู้มีฝีมือในกีฬามวย  ให้เป็นหัวหน้าในการจัดกีฬา  และให้มียศตำแหน่งด้วย  เช่น  พระไชยโชคชกชนะ  แห่งพระนคร , หมื่นมวยมีชื่อ  จากไชยา , หมื่นมวยแม่นหมัด  จากลพบุรี , หมื่นชงัดเชิงชก  จากโคราช

 

การจัดการแข่งขันมวยไทย

การแข่งขันมวยไทยครั้งสมัยโบราณ  ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีกติการที่แน่นอยอย่างไรบ้าง  ผู้มีอำนาจเด็ดขาด  ได้แก่  นายสนามมวย  แต่เมื่อมวยสากลได้รับการเผยแพร่เข้ามาครั้งแรก  โดยหม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ๋วงศ์  สวัสดิกุล  เมื่อ พ.ศ. 2455 ทางวงการมวยไทยจึงได้วางกติกาขึ้น  ซึ่การชกมวยในสมัยนี้ก็ยังคงมีการคาดเชือกกันอยู่  ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นการสวมนวม  แต่การชกยังเหมือนเดิม  คือยังใช้การถีบ  เตะ  ชก  ศอก  เข่า  อย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน  ได้มีวิวัฒนาการในเรื่องขอกติกา  และการจัดแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน  ดังนี้

พ.ศ. 2477 กระทรวงมหาดไทย  ได้ร่างกติกาคุ้มครองมวยไทยและมวยสากล  เพื่อเป็นการแข่งขันชั่วคราว  ต่อมาในพ.ศ. 2479 กรมพลศึกษา  มีหน้าที่ในการจัดแข่งขันมวยโดยตรง  ได้ตั้งกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง  ทำการปรับปรุงแก้ไขกติกามวยไทยและมวยสากล  และประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2480 เป็นต้นมา  และได้จัดพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2482 การแข่งขันที่เป็นหลักฐานเริ่มอย่างจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 5 สมัย  ดังนี้

สมัยสวนกุหลาย

สมัยนี้ประชาชนนิยมการชกมวย  และชมการแข่งขันชกมวยกันเป็นจำนวนมาก  การชกมวยไทยในสมัยนี้ยังมีการคาดเชือก (นักมวยสมัยเก่า  ใช้ด้ายดิบเส้นโตขนาดดินสอดำชุบแป้งให้แข็ง  พันตั้งแต่สันมือจนถึงศอก  และพันรัดเป็นปมทางด้านหลังของข้อนิ้วมือหรือสันหมัด  เป็นรูปก้นห้อยที่เรียกว่า  การคาดเชือก) การชกได้กำหนดจำนวนยกไว้แน่นอนแล้ว  มีกรรมการชีขาด  ผู้ตัดสินสวนมากจะนั่งอยู่ข้างเวที  และให้สัญญาณนักมวยหยุดชกด้วยเสียงหรือนกหวีด

 

สมัยท่าช้าง

ในสมัยนี้เป็นสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ  จากการคาดเชือกมาเป็นการสวมนวม  สมัยนี้ได้ดำเนินการจัดการแข่งขันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรในที่สุดสนามก็เล็กเกินไป  กรรมการผู้ชี้ขาดที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้  คือ  นายทิม อติเปรมานนท์  และนายนิยม ทองชิตร์

 

สมัยสวนสนุก

การจัดการแข่งขันในสมัยนี้นายสนามดำเนินงานได้ดี  และยืนยาวอยู่หลายปี  นักมวยที่มีชื่อเสี่ยง  คือ  สมาน ดิลกวิลาส  และ  สมพงศ์ เวชชสิทธิ์  สมัยนี้มีการแข่งขันทั้งมวยไทยและมวยสากล  กรรมการผู้ตัดสินที่มีชื่อเสียง  ได้แก่  หลวงพิพัฒน์ พลกาย , นายสุนทร ทวีสิทธิ์ (ครูกิมเส็ง) , และนายนิยม ทองชิตร์

 

สมัยหลักเมืองและสวนเจ้าเชษฐ์

การแข่งขันชกมวยในสมัยนี้เข้มแข็งยิ่งขึ้น  เพราะทางราชการทหารเข้ามาร่วมมือช่วยเหลือ  และมีผลเป็นรายได้บำรุงกองทัพจำนวนมาก  นักมวยที่มีชื่อเสียงในยุคนี้  ได้แก่  สุข ปราสาทหินพิมาย , ผล พระประแดง , เพิก สิงหพัลลภ ประเสริฐ , ส.ส. ถวัลย์ วงศ์เทเวศร์ , และทองใบ ยนตรกิจ  การแข่งขันสมัยนี้ดำเนินมาหลายปีจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองจึงได้เลิกไป  กรรมการผู้ตัดสินในสมัยนี้  ได้แก่  นายสังเวียน หิรัญเลขา  หรือนายเจือ จักษุรักษ์  และนายวงศ์ หิรัญเลขา

 

สมัยปัจจุบัน

ได้ทำการแข่งขัน ณ เวทีมวยราชดำเนินและเวทีสวนลุมพินีเป็นประจำ  และยังมีเวทีมวยที่เปิดการแข่งขันถาวรและชั่วคราวทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด  ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 มีสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย  สำนักงานกีฬาอาชีพ  ของการกีฬาแห่งประเทศไทย  ที่ได้จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.นี้  ให้มีหน้าที่ส่งเสริม  คุ้มครอง  สนับสนุน  และควบคุมกิจการมวยในประเทศไทย  ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  ซึ่งนับว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกของวงการมวยเมืองไทย

ขอบคุณข้อมูลจาก dspace.spu

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

เคล็ดไม่ลับ มวยไทย

ทักษะพื้นฐาน ของมวยไทย



บทความที่น่าสนใจ

ปั้นกล้ามสวยด้วย มวยไทย
ก่อนลง สนามมวย นักมวย ต้องผ่านขั้นตอนใดบ้าง