มวยไทย ศาสตร์ไทยที่ไปไกลระดับโลก

มวยไทย ศาสตร์ไทยที่ไปไกลระดับโลก

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

มวยไทย ศาสตร์ไทยที่ไปไกลระดับโลก



ปัจจุบัน ศิลปะวัฒนธรรมไทยได้มีบทบาทในระดับโลก อย่างล่าสุด ก็เป็นเรื่องของโขนไทย ที่เพิ่งได้รับการยกย่อง ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ แน่นอนว่า ในปีลำดับต่อไป หนึ่งในนั้นยังมีศิลปะมวยไทยด้วย

 

ศาสตร์ศิลป์มวยไทย

 

ศาสตร์มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ของไทย ที่รู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสายมวยไชยา มวยลพบุรี มวยท่าเสามวยพระยาพิชัยดาบหัก และมวยพลศึกษา ล้วนมีเอกลักษณ์และท่วงท่าต่างกัน ตั้งแต่ลีลา กระบวนท่วงท่า การตั้งรับ การคาดเชือกที่มีกลิ่นอายเอกลักษณ์ ของความเป็นมวยสายนั้น ๆ

 

จนกลายเป็นว่า ตั้งแต่อดีต ที่เริ่มต้นจากการจับเวลา ด้วยการใช้กะลาจมน้ำ จนถึงในสมัยปัจจุบัน  ได้มีการจัดชกมวยไทย อยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการพนัน การแข่งขัน หรือแม้แต่เป็นการชกแสดงต่อหน้านักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จนทำให้มวยไทย เป็นหนึ่งในศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่ชาวต่างชาติก็รู้จักและคุ้นตา ซึ่งสถานที่ใช้จัดการชก ที่เรารู้จักกันดี ก็จะเป็น สนามมวยราชดำเนิน หรือ มวยลุมพินี

 

ก็ลองสังเกตของที่ระลึก ที่เอาไว้ขายให้นักท่องเที่ยวดูก็ได้ ว่ามวยไทยมักถูกนำมานำเสนออยู่ในรูปแบบสินค้าที่จับต้องได้ ซึ่งมีการนำเสนอ ตั้งแต่กระบวนท่าแม่ไม้มวยไทย ไม่ว่าจะเป็น ท่าจระเข้ฟาดหาง หนุมานถวายแหวน อิเหนาแทงกฤช นาคาบิดหาง ผ่านรูปแบบผลิตภัณฑ์อย่าง พวงกุญแจ แม่เหล็กติดตู้เย็น หรือแม้แต่เสือ และกางเกงมวย

 

หรือ ภาพลักษณ์ของนักมวย ทีมีร่างกายกำยำ สวมคาดเชือก ให้อยู่ในรูปแบบของสินค้า ให้นักท่องเที่ยวจดจำ ที่มีให้เห็นตามร้านย่านท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังเกิดเป็นธุรกิจโรงเรียนสอนมวยมากมายหลายแห่ง สำหรับผู้สนใจทั้งชาวไทย และ ชาวต่างชาติ

 

อีกภาพลักษณ์ของมวยไทย ที่ทำให้รู้จักไปทั้งโลก ก็มีการนำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ อย่างเรื่อง พันท้ายนรสิงห์ที่มีการพูดถึงเรื่องของประวัติ พระเจ้าเสือ กษัตริย์ที่ช่ำชองเรื่องของมวยไทย หรือ นายขนมต้ม เชลยในสมัยอยุธยา ที่ถูกกวาดต้อนไปยังพม่า และได้เผยแพร่ศาสตร์มวยไทย ให้สายตาของชาวพม่ารามัญประจักษ์

 

หรือ แม้แต่ ภาพยนตร์แอนิเมชั่น ที่โด่งดังอย่าง เก้าศาสตราที่มีการนำเสนอ กระบวนท่าแม่ไม้มวยไทย ผ่านฉากต่อสู้ของพระเอกอย่าง อ๊อด ได้อย่างน่าสนใจ และ นำเสนอได้อย่างสร้างสรรค์ มวยไทย ที่นำเสนอผ่านสื่อ ก็มีผลที่ทำให้คนได้รู้จัก และสนใจศาสตร์ของแม่ไม้มวยไทย ได้อย่างน่าอัศจรรย์เช่นกัน

 

มวยไทย ในระดับโลก

 

มวยไทย ยังไปสู่ระดับสากลได้มากกว่านั้น จากจุดเริ่มต้นที่ไม่ค่อยได้รับการสนใจ เมื่อเทียบการศิลปะอื่นของไทย เช่น ศิลปะการแสดงโขน แต่เมื่อกระแสโลกาภิวัตน์ตามช่วงสมัย ที่ทำให้มวยไทยออกสู่สายตาของชาวต่างชาติ จึงทำให้มีชาวต่างชาติจำนวนมาก ที่อยากจะเรียนศาสตร์และศิลป์ของมวยไทย จนเกิดเป็นการสร้างรายได้ต่อครูมวย ที่สามารถต่อยอดไปถึงการทำธุรกิจโรงเรียนสอนต่อยมวยในต่างแดน

 

นั่น...จึงทำให้มวยไทย ออกสู่สากล และ ยังกลายเป็นเทรนด์กีฬาในกระแสโลก ที่ยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง และกลายมาเป็นหนึ่งในกีฬาทางเลือก ของคนรักสุขภาพ ในการเบิร์นแคลอรี ลดน้ำหนัก หรือ การใช้เรี่ยวแรงในการออกกำลังกาย ให้ดีต่อสุขภาพ

 

มวยไทย สู่การนำเสนอต่อทะเบียนยูเนสโก 

 

จากประเด็นที่เป็นที่รับรู้ไปทั่วโลก ว่าการแสดงโขนไทยนั้น เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) อย่างเป็นทางการ ในช่วงปี 2561 ที่ผ่านมา  โดยประเทศไทยของเราก็ไม่รอช้า ที่จะนำเสนอศาสตร์ศิลป์ไทย ทั้งหมดอีกสามแขนง ได้แก่ โนรา ผีตาโขน และ มวยไทย

 

ซึ่งแม้ว่าในด้านของกระทรวงวัฒนธรรม จะมีการแค่เปรย ในเรื่องของการนำเสนอ หรือ นำเสนออย่างจริงจัง ก็ตาม เพราะเมื่อดูแล้ว ไม่ได้จริงจังเหมือนเมื่อคราว การแสดงโขนไทยมากนัก แต่มวยไทย ก็เป็นอีกหนึ่งในแขนงศาสตร์ไทย ที่น่าจับตามองว่า จะถูกพิจารณาจากหลักเกณฑ์ และจะมีภาพรวมต่อองค์การระดับโลกอย่างไรบ้าง

 

มวยไทย VS มวยเขมร ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่

 

อย่างที่ชาวโซเชียลมีเดียรับรู้ว่า เมื่อคราวทั้งไทยกับเขมร ต่างได้ยื่นนำเสนอการแสดง โขนไทย กับ ละโคนโขลเขมร ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน จนเกิดเป็นวิวาทะเดือดพล่านอยู่พักใหญ่ ถือเป็นการรวมตัวกันของเกรียนคีย์บอร์ด ในการยกอ้างว่า โขนเป็นของใครกันแน่ ทั้งที่อิทธิพลจากการแสดง ก็ได้รับเป็นวัฒนธรรมร่วมจากอารยธรรมอินเดียเหมือนกัน

 

จนบทสรุปก็คือ โขนของแต่ละประเทศ ต่างก็ได้ขึ้นทะเบียนคนละประเภท โขนไทยได้ขึ้นเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ในขณะที่ละโคนโขลเขมร ชื่อชุดว่า ละโครโขลคณะวัดสวายอัณแดตก็ได้ขึ้นทะเบียน จัดอยู่ในหมวดที่ต้องได้รับการอนุรักษ์ และฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน

 

แล้วหากลองพลิกจากการแสดงโขน มาเป็นมวยไทยดูบ้างล่ะ ผู้เขียนเองก็ตั้งประเด็นสงสัยอยู่เหมือนกัน เพราะจากที่ได้ลองไปสำรวจ มวยเขมรที่เรียกว่า โบกะดอร์ (Bokator)’ หรือ ประดัลเสรีก็มีความคล้ายกับมวยไทยในบางจุดอยู่ และไม่ใช่แค่นั้น ประเทศเพื่อนบ้าน ที่อยู่ข้างๆ ไทย อย่างลาว หรือ พม่า (ความจริงแล้วเป็นมวยของมอญ ที่ชื่อว่า ราไวย์ เป็นมวยที่ไม่มีเชิง ค่อนข้างไม่มีกระบวนท่าเป็นเรื่องเป็นราว ไม่เหมือนกับมวยไทย ที่ดูเป็นเรื่องเป็นราวกว่า และ มวยบันโด ของไทยใหญ่) ก็มีศาสตร์ศิลป์ กระบวนท่า หรือแม้แต่ภาพรวม ที่คล้ายกับมวยไทยของเราอยู่

 

หากเทียบเท่ากับประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือการที่องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้ ศิลปะมวยไทเก๊ก หรือ มวยไท่จี๋ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เหมือนกัน ก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า การที่ไทยได้เสนอมวยไทยต่อองค์การยูเนสโกนั้น จะได้รับการขึ้นทะเบียน และอยู่ในหมวดประเภทเดียวกัน เหมือนกับเมื่อคราวการแสดงโขน หรือไม่

 

ซึ่งหากมองในมุมมองเดียว กับเมื่อครั้งขึ้นทะเบียนการแสดงโขนเมื่อปีก่อนแล้วนั้น ทางคณะกรรมการของยูเนสโก ก็ต้องอาจจะต้องพิจารณาองค์ประกอบในหลาย ๆ ด้าน ทั้งเรื่องของประวัติความเป็นมา การต่อยอด พัฒนา ว่ามวยไทยนั้น มีองค์รวม องค์ประกอบในเกณฑ์ที่เหมาะสม ในการขึ้นเป็นมรดกวัฒนธรรมในรูปแบบใด เพื่อนำไปสู่การจัดการ และการประกาศต่อโลกว่า มวยไทย จะได้รับการแต่งตั้งอยู่ในหมวดประเภทใด

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

 

วิวัฒนาการของมวยไทย ในแต่ละสมัย

 

มวยไทย ต้นกำเนินแห่งศาสตร์ศิลป์



บทความที่น่าสนใจ

ความรุนแรง ของ อาวุธมวยไทย ในกีฬา มวยไทย ( Muay Thai )
การแต่งกายมวยไทยสมัยโบราณ