มวยไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน

มวยไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

มวยไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน



 

มวยไทย นั้นเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ที่คงคู่อยู่กับชาวไทยมาตั้งแต่อดีตกาล แม้ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนไป แต่ว่าศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้ก็ยังคงดำรงอยู่คู่กับชาวไทย และเผยแพร่สู่ต่างประเทศ จนกลายเป็นที่นิยม อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

 

ประวัติศาสตร์มวยไทย ( Muay Thai ) มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอพยพ ของประชากรที่อาศัยอยู่ ในมณฑลยูนาน บนฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียง ของประเทศจีน โดยตามตำนานของไทย เชื่อว่ามีผู้คนจำนวนมาก ที่เดินทางออกจากมณฑลยูนาน ประเทศจีน มาสู่ประเทศไทย เพื่อค้นหาที่ดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ สำหรับการเกษตร อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการโยกย้าย ของพวกเขา ชาวไทยกลุ่มนี้ ได้ถูกโจมตีโดยโจร และสัตว์ นอกจากนี้ ยังมีโรคต่าง ๆ ที่พวกเขาต้องเผชิญ เพื่อเพิ่มความสามารถ ในการป้องกันร่างกาย และจิตใจ การรับมือกับความทุกข์ยาก ชาวไทยสยาม จึงได้คิดค้นวิธีการต่อสู้

 

แม้ว่าการดูแลรักษา จัดเก็บเอกสาร ตำราทางประวัติศาสตร์ ในยุคนั้น ส่วนใหญ่จะสูญหายไป เมื่อครั้งที่ถูก กองทัพพม่าทำลาย และขับไล่ออกจาก เมืองอยุธยาในสมัย สงครามพม่า - ไทย ( พ.ศ. 2302 - 2303 ) แต่เราก็ยังสามารถพบหลักฐาน และข้อมูลของ เอกสารบางส่วน ได้จากบันทึกของพม่า กัมพูชา และจากชาวยุโรป เมื่อครั้งมาเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นครั้งแรก รวมถึงจากบันทึกเหตุการณ์ ของล้านนา หรือเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน

 

สมัยสุโขทัย

 

เมืองหลวงของประเทศไทย ในช่วงนี้ตั้งอยู่ที่เมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1781 ถึง พ.ศ. 1951 ตามรายการที่บันทึกไว้ในศิลา สุโขทัยมีความขัดแย้งกับหลายเมือง ที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งมักจะเผชิญหน้ากับข้าศึกจากภูมิภาคต่าง ๆ ดังนั้น ทางเมืองสุโขทัยจึงมีคำสั่ง ให้มีการฝึกฝนในกองทัพ รวมถึงการใช้ดาบ หอก และอาวุธอื่น ๆ เพื่อใช้ในการต่อสู้ นอกจากนี้ การฝึกต่อสู้โดยใช้ร่างกาย มีประโยชน์มาก ในยามบ้านเมืองไม่มีสงคราม ทักษะการต่อสู้ด้วยการใช้หมัด เข่า และศอก ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกซ้อม ของกองทัพสุโขทัย

 

ในยามสงบ การฝึกมวยไทย ( Muay Thai ) จะเป็นกิจกรรมแบบไม่แบ่งชนชั้น โดยบรรดาชายไทยวัยหนุ่ม จะได้รับทักษะการต่อสู้ และป้องกันตัว ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมล่วงหน้า ก่อนเข้ารับราชการทหาร ศูนย์ฝึกซ้อมส่วนใหญ่ จัดขึ้นที่บริเวณรอบเมือง โดยเฉพาะสำนักสมอคร ในแขวงเมืองลพบุรี รวมถึงมีการสอนตามลานวัด โดยมีพระภิกษุเป็นผู้ฝึกสอน

 

ในช่วงเวลานี้ มวยไทย ( Muay Thai ) ได้รับการยกย่อง เป็นศิลปะชั้นสูงทางสังคม และนำมาใช้จริง ในการพัฒนาสมรรถภาพ ทางกายแก่นักรบ การสร้างความแข็งแกร่ง และความกล้าหาญ ต่อผู้ปกครองบ้านเมือง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์แรกของสุโขทัย ทรงเชื่อมั่นในประโยชน์ของมวยไทย จึงส่งราชโอรสสองพระองค์ ไปยังสำนักสมอคร เพื่อเตรียมความพร้อม ในการสืบทอดราชบัลลังก์ ระหว่างปี พ.ศ. 1818 ถึง 1860 พ่อขุนรามคำแหง ทรงนิพนธ์ตำหรับพิชัยสงคราม ที่มีการกล่าวถึงมวยไทย เช่นเดียวกับทักษะการต่อสู้อื่น ๆ

 

 

สมัยกรุงศรีอยุธยา

 

สมัยกรุงศรีอยุธยา อยู้ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 1988 ถึง พ.ศ. 2310 ในช่วงนี้มีสงครามจำนวนมาก ระหว่างไทย พม่า และกัมพูชา จึงได้มีการฝึกพัฒนาทักษะ ด้านมวยไทย ( Muay Thai ) เพื่อการป้องกันตัว อาจารย์ผู้ถ่ายทอด ศิลปะการต่อสู้นี้ให้แก่ชาวไทย ไม่ได้มีจำกัดเฉพาะ ในพระบรมมหาราชวังดังเช่นก่อนหน้านี้ โดยมีสำนักดาบพุทไธสวรรย์ ที่ได้รับความนิยมในสมัยนี้ มีนักเรียนหลายคนเข้ามาเรียนรู้เรื่องระเบียบวินัย พวกเขาฝึกวิชาดาบ และการต่อสู้ระยะประชิด ด้วยดาบหวาย จากการเรียนรู้การต่อสู้ โดยไม่ใช้อาวุธของทหารนี้เอง ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ มวยไทยโบราณ ซึ่งเป็นรูปแบบดั้งเดิมของมวยไทยโดยสำนักมวยในยุคนั้น ได้เริ่มถ่ายทอดความรู้นี้ ให้แก่ประชาชนมวยไทย นั้นเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ที่คงคู่อยู่กับชาวไทยมาตั้งแต่อดีตกาล แม้ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนไป แต่ว่าศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้ก็ยังคงดำรงอยู่คู่กับชาวไทย และเผยแพร่สู่ต่างประเทศ จนกลายเป็นที่นิยม อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

 

ประวัติศาสตร์มวยไทย ( Muay Thai ) มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอพยพ ของประชากรที่อาศัยอยู่ ในมณฑลยูนาน บนฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียง ของประเทศจีน โดยตามตำนานของไทย เชื่อว่ามีผู้คนจำนวนมาก ที่เดินทางออกจากมณฑลยูนาน ประเทศจีน มาสู่ประเทศไทย เพื่อค้นหาที่ดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ สำหรับการเกษตร อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการโยกย้าย ของพวกเขา ชาวไทยกลุ่มนี้ ได้ถูกโจมตีโดยโจร และสัตว์ นอกจากนี้ ยังมีโรคต่าง ๆ ที่พวกเขาต้องเผชิญ เพื่อเพิ่มความสามารถ ในการป้องกันร่างกาย และจิตใจ การรับมือกับความทุกข์ยาก ชาวไทยสยาม จึงได้คิดค้นวิธีการต่อสู้

 

แม้ว่าการดูแลรักษา จัดเก็บเอกสาร ตำราทางประวัติศาสตร์ ในยุคนั้น ส่วนใหญ่จะสูญหายไป เมื่อครั้งที่ถูก กองทัพพม่าทำลาย และขับไล่ออกจาก เมืองอยุธยาในสมัย สงครามพม่า - ไทย ( พ.ศ. 2302 - 2303 ) แต่เราก็ยังสามารถพบหลักฐาน และข้อมูลของ เอกสารบางส่วน ได้จากบันทึกของพม่า กัมพูชา และจากชาวยุโรป เมื่อครั้งมาเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นครั้งแรก รวมถึงจากบันทึกเหตุการณ์ ของล้านนา หรือเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน

 

สมัยสุโขทัย

 

เมืองหลวงของประเทศไทย ในช่วงนี้ตั้งอยู่ที่เมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1781 ถึง พ.ศ. 1951 ตามรายการที่บันทึกไว้ในศิลา สุโขทัยมีความขัดแย้งกับหลายเมือง ที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งมักจะเผชิญหน้ากับข้าศึกจากภูมิภาคต่าง ๆ ดังนั้น ทางเมืองสุโขทัยจึงมีคำสั่ง ให้มีการฝึกฝนในกองทัพ รวมถึงการใช้ดาบ หอก และอาวุธอื่น ๆ เพื่อใช้ในการต่อสู้ นอกจากนี้ การฝึกต่อสู้โดยใช้ร่างกาย มีประโยชน์มาก ในยามบ้านเมืองไม่มีสงคราม ทักษะการต่อสู้ด้วยการใช้หมัด เข่า และศอก ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกซ้อม ของกองทัพสุโขทัย

 

ในยามสงบ การฝึกมวยไทย ( Muay Thai ) จะเป็นกิจกรรมแบบไม่แบ่งชนชั้น โดยบรรดาชายไทยวัยหนุ่ม จะได้รับทักษะการต่อสู้ และป้องกันตัว ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมล่วงหน้า ก่อนเข้ารับราชการทหาร ศูนย์ฝึกซ้อมส่วนใหญ่ จัดขึ้นที่บริเวณรอบเมือง โดยเฉพาะสำนักสมอคร ในแขวงเมืองลพบุรี รวมถึงมีการสอนตามลานวัด โดยมีพระภิกษุเป็นผู้ฝึกสอน

 

ในช่วงเวลานี้ มวยไทย ( Muay Thai ) ได้รับการยกย่อง เป็นศิลปะชั้นสูงทางสังคม และนำมาใช้จริง ในการพัฒนาสมรรถภาพ ทางกายแก่นักรบ การสร้างความแข็งแกร่ง และความกล้าหาญ ต่อผู้ปกครองบ้านเมือง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์แรกของสุโขทัย ทรงเชื่อมั่นในประโยชน์ของมวยไทย จึงส่งราชโอรสสองพระองค์ ไปยังสำนักสมอคร เพื่อเตรียมความพร้อม ในการสืบทอดราชบัลลังก์ ระหว่างปี พ.ศ. 1818 ถึง 1860 พ่อขุนรามคำแหง ทรงนิพนธ์ตำหรับพิชัยสงคราม ที่มีการกล่าวถึงมวยไทย เช่นเดียวกับทักษะการต่อสู้อื่น ๆ

 

 

สมัยกรุงศรีอยุธยา

 

สมัยกรุงศรีอยุธยา อยู้ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 1988 ถึง พ.ศ. 2310 ในช่วงนี้มีสงคราม จำนวนมาก ระหว่างไทย พม่า และกัมพูชา จึงได้มีการฝึกพัฒนาทักษะ ด้านมวยไทย ( Muay Thai ) เพื่อการป้องกันตัว อาจารย์ผู้ถ่ายทอด ศิลปะการต่อสู้นี้ ให้แก่ชาวไทย ไม่ได้มีจำกัดเฉพาะ ในพระบรมมหาราชวัง ดังเช่นก่อนหน้านี้ โดยมีสำนักดาบพุทไธสวรรย์ ที่ได้รับความนิยมในสมัยนี้ มีนักเรียนหลายคน เข้ามาเรียนรู้เรื่องระเบียบวินัย พวกเขาฝึกวิชาดาบ และการต่อสู้ระยะประชิด ด้วยดาบหวาย จากการเรียนรู้การต่อสู้ โดยไม่ใช้อาวุธของทหารนี้เอง ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ มวยไทยโบราณ ซึ่งเป็นรูปแบบดั้งเดิมของมวยไทย โดยสำนักมวยในยุคนั้น ได้เริ่มถ่ายทอดความรู้นี้ ให้แก่ประชาชน

 

 

การพัฒนามวยไทย เป็นการกีฬาต่อสู้ป้องกันตัว

 

ในปัจจุบัน นักมวยต้อง สวมนวมขนาด  4  ออนซ์ แต่งกายแบบนักกีฬามวยคือ สวมกางเกงขาสั้น สวมกระจับ สวมปลอกรัดเท้า หรือไม่ก็ได้ เครื่องรางของขลัง ผูกไว้ที่แขนท่อนบนได้ ส่วนเครื่องรางอื่น ๆ ใส่ได้เฉพาะตอนร่ายรำไหว้ครู แล้วให้ถอดออก ตอนเริ่มทำการแข่งขัน

 

ในการแข่งขัน มีกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที 1 คน กรรมการให้คะแนน ข้างเวที 2 คน จำนวนยกในการแข่งขันมี 5 ยก ยกละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที การแข่งขันแบ่งเป็นรุ่น ตามน้ำหนักตัวของนักมวย เหมือนกับหลักเกณฑ์ ของมวยสากล อวัยวะที่ใช้ในการต่อสู้คือ หมัด เท้า เข่า ศอก เข้าชก เตะ ถีบ ถอง เป็นต้น ได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยไม่จำกัดที่ที่ชก แม่ไม้มวยไทย ที่มีอันตรายสูงบางท่า ถูกห้ามใช้เด็ดขาด อาทิ ท่าหลักเพชร  เป็นท่าจับขาแล้วหักด้วยการนั่งทับ เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม การชกในปัจจุบันส่วนใหญ่ มุ่งเพื่อผลแพ้ชนะ และมีผลประโยชน์ทางธุรกิจ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ศิลปะและแก่นแท้ของมวยไทย นับวันจะเลือนหายไป ถึงแม้จะมีหลักสูตรการเรียน กันในบางสถาบันการศึกษาก็ตาม เป็นที่น่ายินดีที่ปัจจุบัน มีการเรียน การสอนมวยไทย ในระดับบัณฑิตศึกษา คือ วิทยาลัยมวยไทยศึกษา และการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏ หมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี เริ่มเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขามวยไทย ใน พ.ศ. 2546 หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขามวยไทยศึกษา ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 และต่อมาพัฒนาเป็นหลักสูตร ในระดับปริญญาเอกชื่อว่า หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขามวยไทยศึกษา ( ปัจจุบันมีการสอน ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยยกเลิกหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต )

 

จึงเริ่มพัฒนาเข้าสู่ วิชาการเรียนการสอน เพื่อการอนุรักษ์ และแสวงหาคุณค่า ทางภูมิปัญญาไทย มากขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน โดยมีคณาจารย์ประจำหลักสูตร เช่น ดร. ศักดิ์ชัย ทัพสุวรรณ นายกสมาคม สภามวยไทยสมัครเล่นโลก ดร. แสวง วิทยพิทักษ์ กรรมการเทคนิคผู้ตัดสินมวยไทย จากสนามมวยราชดำเนิน รองศาสตราจารย์ ดร. สมพร แสงชัย เจ้าตำรับครูมวย พระยาพิชัยดาบหัก รวมไปถึง รองศาสตราจารย์ชัยสวัสดิ์ เทียนวิบูลย์ ครูมวยสยามยุทธ์ นอกจากนี้ยังมี รองศาสตราจารย์ ดร. เสรี พงศ์พิศ ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาไทย มาช่วยกันสร้างสรรค์จรรโลง ให้องค์ความรู้ของบรรพบุรุษ ที่มีมานานนับสองพันปี ให้อยู่ยั่งยืนตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ไหว้ก่อนชก ประเพณีอันดีงาม

มวยไทย กีฬาที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน

 



บทความที่น่าสนใจ

มวยท่าเสา มวยไทย ( Muay Thai ) โบราณ ของภาคเหนือ
ออกกำลังกาย ตาม นัก มวยไทย มืออาชีพ