เคล็ดลับป้องกันอาการบาดเจ็บจากการฝึก มวยไทย

เคล็ดลับป้องกันอาการบาดเจ็บจากการฝึก มวยไทย

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

เคล็ดลับป้องกันอาการบาดเจ็บจากการฝึก มวยไทย



มวยไทย ( Muay Thai ) เป็นศิลปะการป้องกันตัวอีกอย่างหนึ่งที่หลายคนหันมาสนใจ เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันตัวได้แล้วนั้นยังถือเป็นการช่วยอนุรักษ์สมบัติของชาติได้ด้วย แต่ทุกการฝึก มวยไทย ย่อมมีสิทธิได้รับอาการบาดเจ็บได้เช่นกัน

 

          ความเสี่ยงจากการฝึก มวยไทย ( Muay Thai )

     มวยไทย ( Muay Thai ) เป็นกีฬาที่อันตราย แม้ว่าจำนวนนักมวยที่เสียชีวิตจากการเล่นกีฬาไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ก็ปรากฏว่าอัตราการเสียชีวิตนั้นต่ำกว่าในกีฬาบางประเภทเช่น การแข่งม้า เป็นต้น ความยากลำบากในการค้นหาอัตราการตายที่แน่นอนได้รับผลกระทบจากความแตกต่างในการควบคุมระหว่างมวยมือสมัครเล่น และมืออาชีพ, มวยที่ผิดกฎหมาย, วิธีการทำงานของหน่วยงานทั่วโลก, ขาดการศึกษาระยะยาว และความไม่ถูกต้องทางการแพทย์

     สำหรับคนที่กำลังออกกำลังกายด้วยการเรียนมวย ไม่ว่าจะเป็น มวยไทย ( Muay Thai ) มวยสากล หรือศิลปะการต่อสู้อื่น ๆ ล้วนเป็นการออกกำลังกายที่ดี ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายแต่ก็มีหลายเรื่องที่ต้องระวัง ดังต่อไปนี้

 

1. ผิวหนังมีรอยช้ำ

     คิดอยากจะเป็นนักรบก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีรอยแผลติดตัวมาบ้าง สิ่งที่คุณจะต้องเจอก็คือ รอยช้ำ รอยแดงที่ผิวหนังยามต้องเตะต้องเป้า และกระสอบทราย แต่เชื่อว่าทุกคนที่เรียนต้องเตรียมใจรับมือมาในระดับหนึ่ง แนวทางการป้องกันอย่างง่ายที่สุด คือ การใส่เครื่องป้องกัน แต่หากเกิดรอยฟกช้ำ ควรรอให้อาการดีขึ้นแล้วค่อยกลับมาฝึกซ้อมใหม่

 

2. อาการบาดเจ็บข้อมือ ข้อเท้าพลิก หัวเข่า

     การบาดเจ็บบริเวณข้อต่อเกิดขึ้นง่ายที่สุดสำหรับคนเล่นกีฬาประเภทศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว อย่างเช่น มวยไทย ( Muay Thai ) เกิดจากตัวเราเองนั้นมีพื้นฐานการออกอาวุธไม่ดีพอ เร่งมากเกินไป ไม่รอการฝึกซ้อมท่าช้า ๆ ซ้ำ ๆ อย่างถูกวิธีจนเกิดกล้ามเนื้อจดจำ และการออกแรงเกินกำลังของร่างกาย ทางแก้คือ การย้อนกลับไปฝึกพื้นฐานให้แน่น  และเรียนรู้กำลังของตัวเอง จากนั้นค่อย ๆ ฝึกพัฒนาให้เก่งขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ

 

3. การกระทบกระเทือนทางสมอง

     อาการนี้จะเกิดเฉพาะผู้เล่นที่นิยมการลงนวมซ้อมกับเพื่อน ๆ ในยิมด้วยกัน แต่สายออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เตะเป้า เตะกระสอบทรายอย่างเดียวไม่ต้องกังวลไป การลงนวมควรใส่เครื่องป้องกันให้ดี เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนทางสมองซึ่งเป็นปัญหาที่นักมวยทุกคนต้องเผชิญ

     สมาคมศัลยแพทย์ระบบประสาทอเมริกันกล่าวว่า 90% ของนักมวยรักษาอาการบาดเจ็บที่สมอง มวยอาจมีผู้เสียชีวิตน้อยกว่ากีฬาอื่น ๆ แต่จำนวนนักมวยที่มีความเสียหายในสมองเชื่อว่าสูงกว่าที่บันทึกไว้มาก เมื่อนักมวยได้พุ่งตรงไปที่ศีรษะมันก็เหมือนกับการถูกลูกบอลโบว์ลิ่ง 13 ปอนด์เคลื่อนที่ที่ความเร็ว 20 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งมีแรงโน้มถ่วงประมาณ 52 เท่า การถูกตีที่ศีรษะอาจทำให้กระดูกหักที่ศีรษะ ใบหน้า และเนื้อเยื่อถูกทำลายในสมอง สามารถทำลายพื้นผิวของสมอง ทำลายเครือข่ายประสาททำให้เกิดแผลเลือดออก หรือก่อให้เกิดการอุดตันของเลือดภายในสมองได้

 

4. บาดเจ็บที่ตา

     แม้ว่าจะได้รับการปกป้องจากกระดูกแข็งด้านข้างดวงตามีความเสี่ยงที่จะถูกกระทบโดยตรงจากด้านล่าง ความเสียหายต่อดวงตาในการชกมวยอาจเกิดจากการสัมผัสโดยตรง หรือจากการกระแทก อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่จอประสาทตาการปลดจอประสาทตาการตกเลือดที่จอประสาทตา และการบาดเจ็บอื่น ๆ

 

          สิ่งที่หลายคนยังไม่รู้จากการฝึก มวยไทย

1. นวมถูกสร้างมาเพื่อ ป้องกันมือเท่านั้น ไม่ได้เพื่อปกป้องการโดนต่อย

     หากเทียบการใช้มือเปล่า, การใส่นวม MMA ที่มีน้ำหนัก 4 Oz หรือใส่นวมมวย เวลาต่อยไปที่เป้าหมาย นวมมวยจะรู้สึกปลอดภัยกับมือของตัวเรามากที่สุด แม้เราจะสรุปไม่ได้ว่า การใส่นวมแบบไหน ทำให้หมัดมีความแรงกว่า แต่ก็รู้ว่านวมที่มีน้ำหนักมากกว่า 10 Oz สามารช่วยป้องกันมือได้ในระดับนึงเลยทีเดียว

     หากอ้างอิงจากประวัติศาสตร์แล้วนั้น นวมในยุคแรก ช่วงปี 1800 ถูกสร้างมาเพื่อให้นักสู้ สามารถต่อยหมัดไปที่ศีรษะได้มากขึ้น เพราะในช่วงนั้น การต่อสู้มวยมือเปล่า ผู้คนต่างต่อยไปที่ลำตัวมากกว่าศีรษะกัน หมัดที่ไม่แม่นพอ หากกระทบไปที่บริเวณกะโหลกจะทำให้มือหักได้ จึงเป็นแนวคิดจากโปรโมเต้อในช่วงปี 1800 ที่ประดิษฐ์ นวมขึ้นมาเพื่อตอบสนองคนดูซึ่งชื่นชอบ การที่นักสู้ต่อยไปที่ศีรษะทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดทางการตลาด ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของนักสู้ที่แต่อย่างใด หากแต่จะป้องกันมือของผู้ชกทำให้มีความกล้าในการต่อยหมัดที่แรงขึ้น ถี่ขึ้น และไม่จำเป็นต้องแม่นยำอย่างแต่ก่อน ซึ่งนี้อาจเป็นเหตุให้นักสู้ในสมัยปัจจุบัน มีอัตราการบาดเจ็บทางสมองมากกว่าสมัยก่อนที่ไม่ใช้นวม

2. การยืนนับ 8 วินาทีในกีฬาการต่อสู้ อันตรายกว่า การถูกน็อคสลบไปเลย

     กฎการนับ 8 วินาที คือ กฎกติกาที่ถูกใช้โดยกีฬา มวยไทย ( Muay Thai ) มวยสากล และคิกบ็อกซิ่ง เป็นกติกาที่ให้กรรมการผู้ตัดสิน นับทั้งหมด 10 วินาที หากนักสู้ถูกน็อคให้ล้มลงระหว่างการต่อสู้ นักสู้จะต้องยืนขึ้นมาภายในเวลา 10 วินาที เพื่อจะมีสิทธิในการสู้ต่อ โดยกรรมการจะเป็นคนเช็ค อาการบาดเจ็บหลังนับไปแล้ว 8 วินาที ว่าสามารถต่อยต่อได้หรือไม่

     ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ อาการกระทบกระเทือนทางสมองกันก่อน โดยปกติแล้วอวัยวะสมองที่อยู่ในกะโหลกเป็นของเหลวที่จะไม่แตะกับกะโหลก เมื่อมีแรงปะทะเข้าที่ศีรษะอย่างในกรณีของการชกมวย สมองจะสั่น และกระแทกไปมาในกะโหลก ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ บอบช้ำได้ การที่นักมวยนั้นถูกน็อคสลบไปถือว่าสมองได้รับการกระทบกระเทือน ทำให้มีการบาดเจ็บเรียกว่า คอนคัสชั่น ( concussion ) ซึ่งการบาดเจ็บทางสมองระดับนี้ โดยทั่วไปจะหมายถึง การบาดเจ็บที่ไม่รุนแรงมากนัก อาจเกิดความบกพร่องของการทำงานในระบบประสาทสมองขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วก็ค่อย ๆ หายไปได้เอง บางรายที่มีอาการมากหน่อยก็อาจถึงขั้นสลบได้ เมื่อไปตรวจทางรังสี หรือการเอกซเรย์ก็มักจะไม่พบความผิดปกติใด และตัวนักสู้เองจะถูกสั่งให้พักจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ

     ด้วยกติกาของการนับ 8 วินาที ในกีฬาการต่อสู้นั้นเอื้ออำนวยให้นักสู้ที่ถูกน็อคลงไปลุกขึ้นมาสู้ได้ต่อ แม้จะบาดเจ็บไม่มากนัก แต่นักสู้จะมีโอกาศได้รับการจู่โจมอย่างต่อเนื่อง ทำให้สมองสะสมอาการบาดเจ็บได้ในระยะยาว เป็นที่มาของอาการอย่าง CTE ( chronic traumatic encephalopathy ) หรือการบาดเจ็บของสมอง เพราะศีรษะได้รับการกระทบกระเทือนซ้ำแล้วซ้ำอีกจากการปะทะที่รุนแรง หรือไม่มีความแรงมากก็ตามในกีฬา มวยไทย โดยทั่วไปจะไม่ปรากฏอาการใด ๆ ให้เห็นอย่างรวดเร็ว และใช้เวลาหลายปีกว่าอาการจะแสดง เบื้องต้นจะมีอาการสูญเสียสมาธิ ปวดหัว ความจำสูญหาย มีปัญหาในด้านการ เดิน การได้ยิน ในรายที่อาการหนักอาจพบกับ อาการ พาร์คินสัน เลยทีเดียว

3. การสู้ในสังเวียนกรง ปลอดภัยกว่าเวทีเชือก

    แม้ว่าการต่อสู้ในกรงเหล็ก 8 เหลี่ยมของ MMA นั้นจะมีภาพลักษณ์ที่ดูโหดร้าย และดุดันก็ตาม แต่ก็มีความปลอดภัยสูงกว่าการต่อสู้บนเวทีเชือกมาตรฐานหลายประการ เช่น มวยไทย ( Muay Thai ) มวยสากล เราอาจเคยเห็นเหตุการณ์ที่มีการพลาดตกลงมาจากเวทีเชือก เนื่องจากการเตะ หรือท่าการต่อสู้ ที่ผิดพลาดหลุดเข้า หรือข้ามไปเชือกไป แต่สำหรับเวทีกรงแปดเหลี่ยมนั้น ถือว่ามีความปลอดภัยแน่นอน ด้วยกรงที่สูงกว่าสองเมตรโดยเฉลี่ย เป็นไปไม่ได้เลยที่นักสู้จะพลาดตกลงมาได้ นอกเสียจากว่ามีการปีนขึ้นไปแล้วกระโดดลงมา นอกจากนี้ลูกกรงที่มีมาตรฐาน ในรายการแข่งขันใหญ่ต่าง ๆ จะมีการเคลือบลูกกรงโดย PVC เพื่อไม่ให้เกิดการบาดไปที่ตัวนักกีฬา

     เหตุการณ์ที่เราเคยเห็นในกีฬาการต่อสู้ มวยไทย ( Muay Thai ) มวยสากล หรือ MMA คือ การถูกน๊อค กลางอากาศ หรือล้มลงทำให้ หัวฟาดซ้ำลงไปที่พื้นเวที เป็นเหตุให้อาการบาดเจ็บมีอาการสาหัสกว่าเดิม หรือถึงแก่ชีวิตเลยทีเดียว การถูกน็อคอาจยับยั้งไม่ได้แต่ การเลือกใช้พื้นเวทีที่มีคุณภาพจะเป็นหนทางที่ช่วยลดอาการเจ็บโดยรวมของนักสู้ได้

   

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

น้ำมันมวย สำคัญอย่างไรกับ มวยไทย

มวยไทย จำเป็นต้องมีถุงถ่วงน้ำหนัก



บทความที่น่าสนใจ

เรียนรู้มารยาท ในการชก มวยไทย
ลดน้ำหนักในเเบบฉบับนักมวย