ความเป็นมาของ มวยไทย ในแต่ละยุคสมัย

ความเป็นมาของ มวยไทย ในแต่ละยุคสมัย

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

ความเป็นมาของ มวยไทย ในแต่ละยุคสมัย



มวยไทย ( Muay Thai ) ศิลปะการต่อสู้สำคัญของประเทศไทย ที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทยที่คนทั่วโลกรู้จักกันเป็นอย่างดี โดยมวยไทย มีการกำเนิดมาตั้งแต่ สมัยโบราณ และมีประวัติ ความเป็นมา ในแต่ละยุคสมัยที่น่าสนใจอย่างมาก

 

มวยไทย ( Muay Thai ) ศิลปะการต่อสู้ที่อยู่กับคนไทยอย่างมาช้านาน ซึ่งการเกิดขึ้นของ มวยไทย เริ่มขึ้นเมื่อใดนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฎที่แน่ชัด แต่สามารถกล่าวได้ว่า มวยไทยเกิดมาพร้อมกับคนไทย เพื่อการสร้างชาติไทยให้กลายเป็นปึกแผ่นได้ โดยหากกล่าวถึง ความเป็นมา ของมวยไทย ในยุคประวัติศาสตร์ สามารถแบ่งได้ตามสมัย ดังนี้

 

สมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1781 - 1921)

 

ในสมัยนี้ การต่อสู้มือเปล่าด้วยวิชา มวยไทย ( Muay Thai  ) มีใช้อยู่ในการต่อสู้กับข้าศึก และเป็นการใช้ร่วมกับอาวุธต่าง ๆ อย่างดาบ หอก มีด โล่ หรือธนูอีกด้วย โดยการฝึกสอนมวยไทยในสมัยนี้ จะมีการจัดสำนึกขึ้นในสถานที่ ได้แก่ วัด บ้าน สำนักราชบัณฑิต ที่เปิดสอนวิชาการต่อสู้ป้องกันตัวรวมอยู่ด้วย

 

สมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 2310)

 

สมัยนี้ การถ่ายทอดวิชาการต่าง ๆ มาจากสมัยสุโขทัยอย่างต่อเนื่องกัน เช่น การคล้องช้าง, การฆ่าสัตว์, การฟ้องรำ และการละเล่นต่าง ๆ และวัดก็คงเป็นสถานที่ให้ความรู้ ทั้งสามัญและฝึกความชำนาญในเชิงดาบ, กระบี่กระบอง, กริช, มวยไทย, ยิงธนู เป็นต้น

 

ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในช่วงปี พ.ศ.2174 - 2233 รัชสมัยของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครองราชย์ นับว่ามวยไทย มีความเจริญขึ้นมาอีก เนื่องจาก นายขนมต้ม ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์มวยไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นายขนมต้ม จึงเป็นนักมวยเอกคนแรกของไทย ที่ได้ประกาศฝีมือลายมือมวยไทยในต่างแดน

 

ต่อมา สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ มวยไทย ( Muay Thai ) ถือได้ว่า มีความเจริญอย่างมาก เนื่องจาก พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ ที่ชอบชก มวยไทย มาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ และมักปลอมพระองค์ ไปชกมวยกับชาวบ้านอยู่เป็นประจำ พระองค์จึงได้ทรงสนับสนุนมวยไทยเป็นอย่างมาก และได้ทรงมีพระปรีชาอย่างมาก โดยได้ทรงคิดท่าแม่ไม้มวยไทย ในแบบเฉพาะพระองค์ จนกลายเป็น “ตำรามวยพระเจ้าเสือ” ซึ่งถือเป็น มรดกทางภูมิปัญญา จากบรรพชนที่ได้รับการถ่ายทอดมาสู่ชนรุ่นหลัง และสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้

 

ซึ่งใน เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติกำหนดให้วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันมวยไทย ซึ่งวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ตรงกับวันเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติของ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 นั่นเอง

 

สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2314)

 

ในสมัยนี้ พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ และมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยดาบหัก (นายทองดีฟันขาว) ซึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเข้าตากสิน) ได้โปรดให้ครองเมืองพิชัยอยู่นั้น ได้นำทัพออกต่อสู้กับพม่าจนดับหัก แต่ก็สามารถป้องกันเมืองพิชัยเอาไว้ได้ ประชาชนทั่วไปจึงเรียกว่า "พระยาพิชัยดาบหัก" ตั้งแต่นั้นมา ซึ่งต่อมาพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้แต่งตั้งนายทองดีไปครองเมืองพิชัย และมีความชอบได้เป็นถึงพระยาพิชัย ต่อมาคนในตระกูลของพระยาพิชัยดาบหักก็ได้รับราชการมาตั้งแต่สมัยนั้นจนถึงรัชกาลที่ 6 ก็ได้พระราชทานนามสกุลว่า วิชัยขัทคะ แปลว่า ดาบวิเศษของพระวิชัย

 

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

 

ในปีพ.ศ. 2325 ในระยะต้น รัชกาลที่ 1-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นกษัตริย์ไทยที่ทรงโปรดการกีฬามาก เช่น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ร.1) ทรงโปรดกีฬามวยไทยเป็นอย่างมาก ในสมัยนั้น ได้มีฝรั่งสองคนพี่น้องเข้ามาหาคู่ชกมวยชนิดมีเดิมพัน พระองค์ได้จัดส่งหมื่นผลาญ นักมวยผู้เก่งกาจขึ้นชกกับ ฝรั่งสองพี่น้อง แม้หมื่นผลาญ จะมีร่างกายเล็กเสียเปรียบฝรั่งมาก แต่ด้วยศิลปะะมวยไทย อาวุธหมัด เท้า เข่า ศอก ฝรั่งสองพี่น้องจึงพ่ายแพ้ยับเยิน

 

ในสมัย รัชกาลที่ 4 ได้โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์หัดเล่นกระบี่กระบอง พระองค์มีความชำนาญในกีฬามวยไทย จึงจัดให้มีการแข่งขันชกมวยขึ้นในชนบทและในกรุง นอกจากนี้ ได้ทรงแต่งตั้งผู้มีฝีมือในกีฬา มวยไทย ให้เป็นหัวหน้าในการจัดกีฬา และให้ยศตำแหน่งด้วย

 

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 แม้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 พ.ศ.2463 แต่ก็ได้เกิดสนามมวยขึ้นครั้งแรก ระบุว่าได้มีสนามมวยสวนกุหลาบ เกิดขึ้นในปีพ.ศ.2463 คือ สนามมวยสวนกุหลาบ จัดให้มีการชกมวยไทยเป็นประจำ โดยในช่วงแรก ให้นักมวยชกกันบนพื้นดิน ผู้ชมที่ นั่งและยืน อยู่รอบบริเวณสังเวียน ซึ่งกว้างกว่า 20 เมตร มีการขีดเส้นกำหนดให้นั่งห้ามล้ำเข้าไปในเขตสังเวียน

 

ในสมัยปัจจุบัน ได้ทำการแข่งขัน ในเวทีมวยสำคัญอย่าง เวทีมวยราชดำเนิน และเวทีลุมพินี เป็นประจำ และยังมีเวทีมวยที่เปิดการแข่งขันถาวรและชั่วคราวทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดอีกมากมาย และยังมีพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ.2542 มีสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย ของการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่ได้จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. นี้ให้มีหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครอง สนับสนุนและควบคุมกิจการมวยไทยในประเทศไทยให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฏหมายอีกด้วย

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

มวยไทย กับเสน่ห์ที่ทำให้ใครๆหลายๆคนหลงใหล

ประวัติศาสตร์ มวยไทย ( Muay Thai ) จากรุ่นสู่รุ่น



บทความที่น่าสนใจ

มวยไทย ( Muay Thai ) กีฬาที่น่าสนใจ ของ ชาวต่างขาติ
ต่อย มวยไทย อย่างไร ให้ หุ่นปัง