ประวัติศาสตร์ มวยไทย ( Muay Thai ) จากรุ่นสู่รุ่น

ประวัติศาสตร์ มวยไทย ( Muay Thai ) จากรุ่นสู่รุ่น

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

ประวัติศาสตร์ มวยไทย ( Muay Thai ) จากรุ่นสู่รุ่น



มีใครคนไหนสนใจ ประวัติศาสตร์ มวยไทย บ้างคะกว่าจะมาเป็น มวยไทย ในทุกวันนี้ต้องย่อมมี ครู หรือ ผู้ฝึกสอน เผยแพร่วิชา ให้กับศิษย์ของตน จากรุ่นสู่รุ่น วันนี้เราจึงจะมาแนะนำ บุคคลสำคัญของ มวยไทย ( Muay Thai ) กันค่ะ

 

บุคคลสำคัญ ของกีฬา มวยไทย ( Muay Thai ) ในประวัติศาสตร์

1. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ( พระเจ้าเสือ ) กษัตริย์แห่ง มวยไทย ( Muay Thai )

สมัยอยุธยา สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ โปรดการชกมวยเป็นอย่างมาก เคยทรงปลอมพระองค์ มาชกมวยกับชาวบ้าน และชนะนักมวยฝีมือดี ของเมืองวิเศษไชยชาญ อีกทั้งชนะนักมวยเอกถึง 3 คน เมื่อพระมหากษัตริย์ โปรดการชก มวยไทย ( Muay Thai ) เช่นนี้ ทำให้มีการฝึก มวยไทย ( Muay Thai ) กันอย่างแพร่หลายในราชสำนัก ขยายไปสู่บ้าน และวัด โดยเฉพาะวัด ถือเป็นแหล่งประสิทธิ์ประสาท วิชา มวยไทย ( Muay Thai ) เป็นอย่างดีรวมถึงขยายวงกว้าง ไปสู่สามัญชนมาก แม้ท่านจะทรงสวรรคต แต่ มวยไทย ( Muay Thai ) ตำรับพระเจ้าเสือ อันแข็งแกร่งยังได้รับ การถ่ายทอด ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ฝึกฝน จนถึงทุกวันนี้ อีกทั้งวันเสด็จขึ้น เสวยราชสมบัติ ของพระเจ้าเสือ คือวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เป็น วัน มวยไทย ( Muay Thai ) อีกด้วย

 

 

2. นายขนมต้ม ยอดนักสู้ มวยไทย ( Muay Thai ) ให้เป็นที่ประจักษ์ แก่ชาวต่างชาติ

ในตอนเด็กนั้น ๆ นายขนมต้ม เป็นเด็กที่อาศัยอยู่ในวัด ด้วยสาเหตุที่ว่าพ่อ และแม่ ถูกพม่าสังหาร จนถึงแก่ชีวิตทั้งสองคน จนเมื่อพม่าตีกรุงศรีอยุธยา นายขนมต้ม กลายเป็นหนึ่งในเชลยศึก ที่ถูกกวาดต้อนไปยังประเทศพม่า กษัตริย์แห่งพม่า ได้ทรงจัดงานสมโภช เจดีย์ชเวดากอง และทรงโปรดให้มีการแข่งขัน ชกมวยระหว่างชาวสยาม และชาวพม่า สุกี้พะนายกองคัด นายขนมต้ม ขึ้นชก และสามารถชกชนะ นักมวยพม่าถึง 10 คนโดยมิยอมถอย แม้แต่ก้าวเดียว จนพระเจ้ามังระปูบำเหน็จ แต่งตั้งให้เป็นข้ารับใช้ ในกรุงอังวะแต่ นายขนมต้ม ปฏิเสธ และขอให้ปลดปล่อยตน และเชลยคนไทยทั้งหมด เป็นอิสระเพื่อกลับบ้านเกิด พระเจ้ามังระ ยอมทำตามความประสงค์ ให้ทุกคนได้กลับมายังบ้านเกิด ก็คือแผ่นดินไทย ที่มีกรุงธนบุรี เป็นราชธานีนั่นเอง เหตุการณ์ที่ นายขนมต้ม สามารถเอาชนะ นักมวยพม่า เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2317 นั้น ทำให้ได้มีการกำหนด ให้วันดังกล่าว เป็น วัน มวยไทย ( Muay Thai ) อีกด้วย

 

3. นายทองดีฟันขาว นัก มวยไทย ( Muay Thai ) สู่นักรบของชาติ

นายทองดีฟันขาว คืออีกหนึ่งครู มวยไทย ( Muay Thai ) สำคัญแห่งประวัติศาสตร์ เดิมชื่อ จ้อย เป็นเด็กชายที่มีนิสัยกล้าหาญ อดทน ชอบชก  มวยไทย ( Muay Thai ) เป็นชีวิตจิตใจ ต่อมาได้ศึกษา วิชาหมัดมวย กับครูเที่ยงที่บ้านท่าเสา แต่เพราะไม่เคี้ยวหมากพลู เหมือนคนสมัย นั้นครูเที่ยงจึงเรียกว่า นายทองดีฟันขาว  นายทองดีเดินทาง ไปเรียนการต่อสู้ จากหลาย ๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็น มวยไทย ( Muay Thai ) มวยจีน หรือเชิงดาบ จนความสามารถเลื่องลือ ภายหลังถวายตัว เป็นทหารคนสนิท ของพระเจ้ากรุงธนบุรี และได้รับสมญานามว่า พระยาพิชัย

 

นายทองดีฟันขาว หรือ พระยาพิชัยดาบหัก ได้สร้างมรดก อันควรแก่การยกย่อง สืบทอดมาถึงปัจจุบัน นอกจากจะเป็นเรื่อง ความซื่อสัตย์สุจริต เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ความรักชาติแล้ว ยังสร้าง มวยพระยาพิชัย ที่มีจุดเด่นคือ เป็นทั้งมวยอ่อน และมวยแข็ง รุกรับตามแต่สถานการณ์ การออกไม้จะรวดเร็ว รุนแรง เผด็จศึกอย่างรวดเร็ว เมื่อมีโอกาส สามารถปกป้องตนเอง รู้วิธีรับก่อนรุก เรียนแก้ก่อนผูก เรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง และคู่ต่อสู้อีกด้วย

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

มวยกรง บนสังเวัยน 8 เหลี่ยม

มวยไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน



บทความที่น่าสนใจ

อาวุธที่อันตรายที่สุดในโลก ฟันศอกแบบ มวยไทย
การตั้งท่ามวย และ เหลี่ยมมวย ในกีฬา มวยไทย ( Muay Thai )