ไหล่ติด อาการยอดฮิตของนักมวย มวยไทย ( Muay Thai )

ไหล่ติด อาการยอดฮิตของนักมวย มวยไทย ( Muay Thai )

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

ไหล่ติด อาการยอดฮิตของนักมวย มวยไทย ( Muay Thai )



เพื่อน ๆ รู้ไหมคะว่า นักมวย ทั้งกีฬา มวยไทย ( Muay Thai ) และ มวยสากล นั้นมี อาการยอดฮิตของนักมวย ที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ อย่างอาการ ไหล่ติด หรือ โรคไหล่ติด เราเลยจะมาบอกเล่า อาการ สาเหตุ และ การป้องกัน โรคนี้กันค่ะ

 

ในกีฬา มวยไทย ( Muay Thai ) นักมวย นั้นมีอวัยวะ ที่ใช้ออกกำลังมากที่สุด ก็คือ หมัด เพราะต้องคอย ชกออกไปเรื่อย ๆ เพื่อหยั่งเชิง หรือ เพื่อทำลาย จังหวะของคู่ต่อสู้ หัวไหล่ ก็เป็นตัวส่งแรงเช่นกัน และ ถ้าหากตัวเรา มีอาการปวดไหล หรือ อาการไหลติด จะส่งผลเสีย ต่อการฝึกซ้อม มากเลยทีเดียว

 

การปวดไหล่ กับสัญญาณเริ่มต้น อาการไหล่ติด ( Frozen Shoulder )

อาการปวดไหล่ เป็นปัญหา ที่พบได้มาก และ บ่อยขึ้น ของอาชีพนักมวย โดยอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว หรือ เรื้อรัง หากมีอาการปวดไหล่ ระหว่างเอื้อมหยิบ ของจากที่สูงเอื้อมมือไปรูดซิบด้านหลังเสื้อไม่ได้ ล้วงกระเป๋ากางเกงด้านหลังลำบาก ยกแขนเพื่อสวมเสื้อ ผ่านทางศีรษะไม่ได้ หรือ เวลาชกต่อยลมรู้สึกเจ็บจี๊ด ๆ ตรงบริเวณหัวไหล่ สัญญานพวกนี้ บ่งบอกแล้วว่า หัวไหล่ ของเรากำลังมีปัญหา

 

สาเหตุของ อาการไหล่ติด ( Frozen Shoulder )

การชกต่อย ต้องใช้แรงส่ง จาก หัวไหล่ อยู่แล้ว และ ยิ่งกระแทกไปถึงหัวไหล่อีกด้วย ก็ยิ่งจะเสี่ยงเกิด อาการไหล่ติด ( Frozen Shoulder ) สาเหตุเกิดจาก เส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่อักเสบ เกิดการบวม และ หนาตัวขึ้น เมื่อยกแขน หรือ ไขว้มือด้านหลัง จะทำให้เส้นเอ็นถูกยืด และ กระตุ้นให้เกิด ความเจ็บปวด จนผู้ป่วยไม่กล้ายกแขนขึ้น เหนือศีรษะ หรือ เคลื่อนไหวหัวไหล่

 

และเมื่อยิ่งหลีกเลี่ยง จะยิ่งทำให้เอ็นรอบข้อไหล่ หนาตัวมากขึ้น องศาการเคลื่อนไหว จะน้อยลง และ หากไม่ใช้แขน ข้างที่มี อาการไหล่ติด ( Frozen Shoulder ) เป็นเวลานาน กล้ามเนื้อแขนข้างนั้น จะฝ่อลีบลง

 

 

ผู้ที่มีความเสี่ยงกับ อาการไหล่ติด ( Frozen Shoulder )

อาการไหล่ติด ( Frozen Shoulder ) ติดมักพบใน ผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 ถึง 60 ปี โดยเกิดกับ เพศหญิง มากกว่า เพศชาย ผู้ที่เกิดอุบัติเหตุที่หัวไหล่ แขนหัก ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก และ ก็ นักมวยไทย ที่ฝึกซ้อม แล้วเกิดการพลาดได้ และ ผู้ที่เข้ารับ การผ่าตัดที่หัวไหล่ รวมถึงผู้ที่เป็น โรคเบาหวาน ซึ่งมีแนวโน้ม เกิด อาการไหล่ติด ( Frozen Shoulder ) มากเป็น 2 เท่า ของคนปกติ

 

 

วิธีรักษา อาการไหล่ติด ( Frozen Shoulder )

โดยปกติ อาการไหล่ติด ( Frozen Shoulder ) สามารถหายได้เอง ภายใน 2-3 ปี แต่สร้างความลำบาก ต่อการใช้ชีวิต และ ทำให้รู้สึกทรมาน จากอาการปวด จึงไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ให้อาการหายไปได้เอง

 

การรักษา จะรักษาตามอาการ

  • ระยะที่ 1 จะให้ทานยา หรือ ฉีดยา
  • ระยะที่ 2 และ ระยะที่ 3 ใช้วิธีกายภาพบำบัด ภายใต้คำแนะนำ ของนักกายภาพบำบัด

 

ทั้งนี้หากมี อาการรุนแรง และ รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ผลนานกว่า 6 เดือน แพทย์อาจจะรักษา โดยการผ่าตัด

 

ยิ่งเป็น นักมวย ในกีฬา มวยไทย ( Muay Thai ) แล้วละก็ ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะ อาการไหล่ติด ( Frozen Shoulder ) นี้ เป็นกันบ่อย ๆ เกือบจะทุกคนในค่าย แต่ไม่รู้สึกตัว และ หายไปเอง จริง ๆ นักมวย มีร่างกายที่แข็งแรงอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็อย่าละเลย อาการ พวกนี้นะคะ เป็น นักมวย ก็ต้องรักษาตัว และ ฝึกซ้อมให้พอดี อย่าหักโหมจนเกินไป จนเกิดอาการบาดเจ็บขึ้นนะคะ

 

เป็นอย่างไรบ้างคะกับ อาการยอดฮิตของนักมวย ที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ อย่างอาการ ไหล่ติด หรือ โรคไหล่ติด ที่เราได้นำมาเสนอกัน  หากใครสนใจเรียน มวยไทย ( Muay Thai ) สามารถมาเรียนได้ที่ เจริญทองมวยไทยยิม ( Jaroenthong Muay Thai Gym ) ที่ 3 สาขาดังนี้

  • jaroenthong muay thai Khaosan ( สาขาข้าวสาร )
  • jaroenthong muay thai Ratchada ( สาขารัชดา อยู่ติดกับโพไซดอน )
  • jaroenthong muay thai Srinakarin ( สาขาศรีนครินทร์ อยู่ด้านในปั้มบางจาก ถนนศรีนครินทร์ )

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

เลือก นวม แต่ละรุ่น ใน กีฬา มวยไทย ( Muay Thai )

ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ด้วย มวยไทย ( Muay Thai )



บทความที่น่าสนใจ

มวยไทย จำเป็นต้องมีถุงถ่วงน้ำหนัก
เหตุผลที่ต้องมีเทรนเนอร์เมื่อเรียน มวยไทย ( Muay Thai )