ทำไมต้อง รำมวย ก่อนขึ้น ชก

ทำไมต้อง รำมวย ก่อนขึ้น ชก

Share : facebook share line share.png twitter share messenger share

ทำไมต้อง รำมวย ก่อนขึ้น ชก



มวยไทย ( Muay Thai ) เป็นหนึ่งใน ศิลปะการต่อสู้ ที่มีชื่อเสียงทั่วโลกที่ไม่ใช่เพียงแต่การออกลีลาท่าทางในการ ต่อสู้ เท่านั้นแต่การเริ่ม ชก มวย มีสิ่งที่ปลูกฝั่ง และถูกส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานั่นคือ การไหว้ครู และการ รำมวย

Two boxers fight with the martial arts of muay thai.

การไหว้ครู หรือ รำมวย ถือเป็นจุดเด่น และเอกลักษณ์ของ กีฬา มวยไทย ( Muay Thai )ซึ่งการ รำมวย ก่อนขึ้น ชก นั้นถือได้ว่าเป็นพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ และยังเป็นการแสดงความเคารพต่อ ครูมวย อีกด้วย ซึ่งผู้เรียนที่ต้องการฝึกฝนจะต้องมีการขึ้นครู และการฝากตัวเป็นศิษย์ และอาจารย์ นั้นต้องมีความนอบน้อมเพื่อที่จะเรียนรู้ความกล้าหาญ และการเตรียมความพร้อมในการที่จะฝึกฝน มวยไทย ไปในขั้นต่อ ๆ ไป ซึ่ง นักมวย จะต้องมีครู และต้องเคารพ และเทิดทูน เพราะว่าการที่ ครูมวย ยินยอมที่จะรับผู้ใดเป็นศิษย์นั้น และในอดีตกาลนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ เพราะในสมัยนั้นครูที่เป็น มวย ( Muay ) ที่มีฝีมือไม่ได้มีอยู่มากมาย และในการสอนไม่ได้คิดค่าบริการสอน แต่ถ้าหากใครที่ต้องการจะเรียนนั้นต้องฝากเนื้อฝากตัวกับ ครูมวย และคอยปรนนิบัติอยู่เป็นเวลานาน จนกว่าจะได้รับการถ่ายทอดวิชาจนครบถ้วน เพราะว่าสาเหตุ ครูมวย กับศิษย์ในสมัยก่อนนั้นมีความสนิทใจกันราวกับพ่อลูก

การไหว้ครู หรือ รำมวย ของ มวยไทย ( Muay Thai ) เป็นการปฏิบัติ และสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และถือเป็นพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งแต่เดิมผู้ที่จะได้รับการฝึกฝนให้เป็น นักมวย ได้นั้น ต้องเข้าไปใช้ชีวิตเรียนรู้ฝากเนื้อ ฝากตัว และคอยปรนนิบัติ ครูมวย และเมื่อ ครูมวย เห็นว่าสามารถจะสอนได้ ก็จะทำพิธีที่เรียกว่า ยกครู เพื่อแสดงถึงการยอมรับซึ่งกันและกัน และจากนั้นครูก็จะสอน มวยไทย อย่างจริงจัง หรือจนกว่าจะได้รับการถ่ายทอดวิชาจนครบถ้วน ซึ่งเวลาไป ชกมวย ก็ต้องทำการ ไหว้ครู ก่อนทุกครั้งของการขึ้น ชก

ประโยชน์ จาก การไหว้ครู หรือ รำมวย

ซึ่ง การไหว้ครู หรือ รำมวย เป็นการสื่อความหมายให้เห็นถึงคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม และประเพณีอันดีงามของไทย ที่มีคุณ ประโยชน์ มากมายทางด้านจิตใจของ นักมวย และ ผู้ชมมวย 

  • เป็นการปลูกฝังนิสัยให้เป็น มวย ( Muay ) คือ การรู้จักเคารพครูอาจารย์ บิดามารดา และผู้ให้กำเนิด มวยไทย ( Muay Thai )
  • เป็นการปลูกฝังจิตสำนึกให้ตระหนักในคุณค่าทางด้านของ ศิลปะมวยไทย ที่เกิดจากความรัก และความหวงแหนที่จะอนุรักษ์ให้คงไว้สืบต่อไป
  • เป็นกิจกรรมที่สามารถเผยแพร่เอกลักษณ์ และศิลปวัฒนธรรมประจำชาติได้อย่างสง่างาม และสมศักดิ์ศรี

ท่าการ รำมวย ไหว้ครู

  • ท่ายืน ไหว้ทิศขวา

เป็นท่ายืนขึ้นอย่างสามขุม และหมุนไปทางทิศเบื้องขวา ไหว้ทิศเบื้องขวา  และ รำมวย ท่านกยูงรำแพน ซึ่งปฏิบัติตามนี้ ครั้ง

  • ท่ายืน ไหว้ทิศซ้าย

เป็นท่ายืนย่างสามขุม และหมุนไปทางทิศเบื้องซ้าย ไหว้ทิศเบื้องซ้าย และ รำมวย ท่าหงส์เหิน ซึ่งปฏิบัติตามนี้ ครั้ง

  • ท่ายืน ไหว้ด้านหน้า และ หลัง

เป็นท่ายืนขึ้นย่างสามขุม และหมุนไปทางขวาจนไปถึงด้านหลัง ไหว้ทิศเบื้องหลัง และพยักหน้า ครั้ง ทำท่าดูดัสกร รำมวย ท่าพยัคฆ์ด้อมกวาง หมุนไปทางขวา แล้วก้าวเท้าชิด ไหว้ทิศเบื้องหน้า

ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือท่าร่ายรำ การไหว้ครู รำมวย นั้นที่คนจะลืม คือท่าร่ายรำเป็น ยืดกล้ามเนื้อ ไปในตัว และเป็นท่าที่เป็น แม่ไม้มวยไทย หลักของสำนักนั้น ๆ เพื่อเป็นการทบทวนความจำก่อนที่จะขึ้น ชก ครั้งสุดท้าย และรวมทั้งการระลึกถึงครูบาอาจารย์ ที่ถ่ายทอดวิชามาให้ ซึ่งก่อนการขึ้น ชก ทุกครั้งก็จะมี การไหว้ครู รำมวย ส่วนแต่ละปีแต่ละสำนัก หรือโรงเรียนนั้น ๆ จะมีพิธีไหว้ครูประจำปี และจะมีการตั้งพระพุทธรูป การนำรูปของ ครูมวย ที่เสียชีวิตไปแล้ว แล้วก็มีเครื่องไหว้ต่าง ๆ ก่อนที่ลูกศิษย์แต่ละคนจะกลับมารวมตัวกัน เพื่อ ไหว้ครู ที่เสียชีวิตไปแล้ว และครูที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันต่อมาอย่างยาวนาน

ซึ่ง มวยไทย ( Muay Thai ) เป็น ศิลปะการต่อสู้ ซึ่งเอกลักษณ์ของ มวยไทย คือมีการนำศิลปะ ดนตรี และทักษะทางด้าน กีฬา เข้ามาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว นั้นจึงทำให้บรรยากาศของการ ต่อสู้ นั้นเต็มไปด้วยความตื่นเต้น และความเร้าใจ จนสามารถครองใจคนจำนวนมากได้เป็นอย่างดี 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ศิลปะ มวยไทย ( Muay Thai ) มรดก ทางวัฒนธรม ที่งดงาม

มวยไทย ข้อดีของการ ต่อยมวย



บทความที่น่าสนใจ

ต่อยมวยช่วยคลายเครียด กับประโยชน์ที่คาดไม่ถึง
มวยไทย กับการ ออกกำลังกาย ด้วย กระสอบทรายตั้งพื้น